กระทรวงกลาโหมจีนได้ออกยืนยันเป็นครั้งแรกในสัปดาห์นี้ การนำเข้าประจำการจรวดแบบพื้นสู่อากาศพิสัยกลางรุ่นใหม่สมรรถนะสูง ในการต่อต้านขีปนาวุธข้าศึกที่ยิงโจมตีภาคพื้นดินจากระยะไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจรวดร่อนโทมาฮอว์ค (Tomahawk) ที่สหรัฐฯ ใช้เป็นอาวุธโจมตีหลักในปัจจุบัน
กองทัพประชาชนจีนตีพิมพ์เรื่องนี้ในเว็บไซต์กระทรวงกลาโหมในวันอังคาร 4 ก.ค.นี้ หลังจากปรากฏเป็นข่าวผ่านในนิตยสาร "กองทัพเรือทันสมัย" ของกองทัพเรือจีนฉบับใหม่ที่ออกปลายสัปดาห์ที่แล้ว
จีนได้นำจรวด SAM (Surface-to-Air Missile) แบบหงฉี-16 (Hongqi-16) เข้าประจำการและติดตั้งในเขตปริมณฑลกองทัพมณฑลเสิ่นหยาง (Shenyang Military Region) แล้วเสร็จ และยังทำอีกเวอร์ชั่นหนึ่งสำหรับติดตั้งบนเรือฟริเกตแบบ 054A ของกองทัพเรือ เพื่อปฏิบัติในทะเลอีกด้วย เว็บไซต์กระทรวงกลาโหมกล่าว
นับเป็นครั้งแรกที่จีนได้ออกเปิดเผยเกี่ยวกับเขี้ยวเล็บล่าสุด โดยจรวด "ธงแดง-16" หรือ HQ-16 ควบคุมด้วยระบบที่สามารถตรวจจับขีปนาวุธข้าศึกที่พุ่งสู่เป้าหมายในระยะต่ำกว่า 10 เมตร ใกล้พื้นดินหรือผืนน้ำได้ ห่างออกไปถึง 40 กม. ไกลพอสำหรับการทำงานของระบบจรวดต่อต้าน
จรวดธงแดง-16 นี้ ได้ช่วยอุดข้อด้อยของระบบจรวดพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ HQ-7 กับระบบจรวดพิสัยไกล HQ-9 และ HQ-12 ที่ใช้ในปัจจุบันได้อย่างดี
Wednesday, October 5, 2011
Wednesday, August 31, 2011
ศตวรรษที่ 21: หรือจะเป็นศตวรรษแห่งเอเชีย ?
เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ได้มีการสัมมนาวิชาการในหัวข้อ "ศตวรรษที่ 21: ศตวรรษแห่งเอเชีย ?" โดยอาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล และ ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล โดยมีดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยการสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์วรศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษากล่าวว่า ปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้จีนกำลังผงาดขึ้นมามีอิทธิพลในเวทีโลกในปัจจุบันนั้น ได้แก่การที่จีนได้บทเรียนจากยุคอาณานิคม ซึ่งในช่วงเวลานั้นจีนปฏิเสธไม่ยอมรับความรู้ใหม่ๆ อีกปัจจัยหนึ่งคือนโยบายต่างประเทศของจีน ที่มีนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน แล้วก็ไม่ให้เพื่อนบ้านเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของจีนด้วย ซึ่งแตกต่างไปจากการดำเนินโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก กระนั้นก็ตาม แม้ว่าจีนจะไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในในประเทศอื่นๆ ทว่าจีนกลับได้ผลประโยชน์จากประเทศเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของอิรัก หรือพม่า
แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาประเทศถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีน แต่จีนได้ให้คำอธิบายการปกครองตนว่า "เอกภาพและเอกราชย่อมต้องมาก่อนเรื่องของสิทธิมนุษยชน" ในกรณีการดำเนินนโยบายในประเทศแบบที่ไม่ยอมให้ประเทศอื่นเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในตน
"นอกจากนี้การที่จีนมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งในเรื่องของภาษาจีน และในด้านอื่นๆก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกื้อหนุนการขึ้นมามีบทบาทของจีนในเวทีโลก แต่อย่างไรก็ดี ประเทศจีนก็ต้องประสบกับข้อจำกัดด้วยเช่นกัน ทั้งข้อจำกัดในเรื่องจำนวนประชากร ซึ่งจะไปกระทบกับความมั่นคงทางอาหารรวมทั้งปัญหาอื่นๆอีกมาก โจทย์ของจีนคือการทำอย่างไรให้ประชากรที่มีอยู่จำนวนมากนั้นเป็นประชากรที่มีคุณภาพด้วยซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันจีนได้หันมาเน้นในเรื่องของการศึกษาเป็นอย่างมาก"
"ผมคิดว่าเมื่อใดที่จีนมีประชากรที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพด้วยอันนั้นจะน่ากลัว"
นายวรศักดิ์กล่าว
นอกจากนี้นายวรศักดิ์ยังได้กล่าวถึงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ของจีนด้วยว่าการที่ในปัจจุบันจีนได้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ทว่ายังคงเลือกที่จะให้มีการปกครองแบบรวมศูนย์ ปฏิเสธการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมและประชาธิปไตยนั้นมีข้อควรระวังที่ว่า จากระบอบดังกล่าว หากมีการทุจริตขึ้นมาเมื่อใด เมื่อนั้นประเทศจีนจะต้องประสบกับปัญหาแน่นอน
ทางด้านนายสุรัตน์ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเดียศึกษาและผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษา กล่าวว่า การจะเป็นประเทศมหาอำนาจนั้นมีองค์ประกอบอยู่ 4 ประการ ตั้งแต่เรื่องของเทคโนโลยี ความพร้อมทางการทหาร วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ซึ่งสำหรับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีนและอินเดียในตอนนี้นั้น กลับพบว่าภายในประเทศเหล่านี้มีปัญหาภายในประเทศมากมาย แม้ว่าปัจจุบันอินเดียจะมีตัวเลขจีดีพีต่อหัวที่สูง แต่ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของรายได้ก็มีอยู่สูงเช่นกัน
"หรือว่าคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องรองลงมาจากเรื่องของตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ?ภายใต้เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่เราต้องเร่งเหยียบคันเร่งทางเศรษฐกิจ-ทางทหาร ซึ่งแม้แต่ในประเทศตะวันตกหรือสหรัฐอเมริกาเองก็ต้องประสบกับปัญหาเช่นนี้"
"บ้านคนอังกฤษในตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นของธนาคารทั้งนั้น"
สุดท้ายนายสุรัตน์ได้โยนคำถามไปให้ผู้ร่วมเสวนาร่วมกันคิดว่า"จากโครงสร้างเศรษฐกิจดังกล่าว
สุดท้ายแล้วมหาอำนาจนั้นคืออะไรกันแน่ การเป็นมหาอำนาจแบบสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันนั้นใช่คำตอบรึเปล่า?"
อาจารย์วรศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษากล่าวว่า ปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้จีนกำลังผงาดขึ้นมามีอิทธิพลในเวทีโลกในปัจจุบันนั้น ได้แก่การที่จีนได้บทเรียนจากยุคอาณานิคม ซึ่งในช่วงเวลานั้นจีนปฏิเสธไม่ยอมรับความรู้ใหม่ๆ อีกปัจจัยหนึ่งคือนโยบายต่างประเทศของจีน ที่มีนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน แล้วก็ไม่ให้เพื่อนบ้านเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของจีนด้วย ซึ่งแตกต่างไปจากการดำเนินโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก กระนั้นก็ตาม แม้ว่าจีนจะไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในในประเทศอื่นๆ ทว่าจีนกลับได้ผลประโยชน์จากประเทศเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของอิรัก หรือพม่า
แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาประเทศถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีน แต่จีนได้ให้คำอธิบายการปกครองตนว่า "เอกภาพและเอกราชย่อมต้องมาก่อนเรื่องของสิทธิมนุษยชน" ในกรณีการดำเนินนโยบายในประเทศแบบที่ไม่ยอมให้ประเทศอื่นเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในตน
"นอกจากนี้การที่จีนมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งในเรื่องของภาษาจีน และในด้านอื่นๆก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกื้อหนุนการขึ้นมามีบทบาทของจีนในเวทีโลก แต่อย่างไรก็ดี ประเทศจีนก็ต้องประสบกับข้อจำกัดด้วยเช่นกัน ทั้งข้อจำกัดในเรื่องจำนวนประชากร ซึ่งจะไปกระทบกับความมั่นคงทางอาหารรวมทั้งปัญหาอื่นๆอีกมาก โจทย์ของจีนคือการทำอย่างไรให้ประชากรที่มีอยู่จำนวนมากนั้นเป็นประชากรที่มีคุณภาพด้วยซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันจีนได้หันมาเน้นในเรื่องของการศึกษาเป็นอย่างมาก"
"ผมคิดว่าเมื่อใดที่จีนมีประชากรที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพด้วยอันนั้นจะน่ากลัว"
นายวรศักดิ์กล่าว
นอกจากนี้นายวรศักดิ์ยังได้กล่าวถึงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ของจีนด้วยว่าการที่ในปัจจุบันจีนได้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ทว่ายังคงเลือกที่จะให้มีการปกครองแบบรวมศูนย์ ปฏิเสธการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมและประชาธิปไตยนั้นมีข้อควรระวังที่ว่า จากระบอบดังกล่าว หากมีการทุจริตขึ้นมาเมื่อใด เมื่อนั้นประเทศจีนจะต้องประสบกับปัญหาแน่นอน
ทางด้านนายสุรัตน์ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเดียศึกษาและผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษา กล่าวว่า การจะเป็นประเทศมหาอำนาจนั้นมีองค์ประกอบอยู่ 4 ประการ ตั้งแต่เรื่องของเทคโนโลยี ความพร้อมทางการทหาร วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ซึ่งสำหรับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีนและอินเดียในตอนนี้นั้น กลับพบว่าภายในประเทศเหล่านี้มีปัญหาภายในประเทศมากมาย แม้ว่าปัจจุบันอินเดียจะมีตัวเลขจีดีพีต่อหัวที่สูง แต่ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของรายได้ก็มีอยู่สูงเช่นกัน
"หรือว่าคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องรองลงมาจากเรื่องของตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ?ภายใต้เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่เราต้องเร่งเหยียบคันเร่งทางเศรษฐกิจ-ทางทหาร ซึ่งแม้แต่ในประเทศตะวันตกหรือสหรัฐอเมริกาเองก็ต้องประสบกับปัญหาเช่นนี้"
"บ้านคนอังกฤษในตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นของธนาคารทั้งนั้น"
สุดท้ายนายสุรัตน์ได้โยนคำถามไปให้ผู้ร่วมเสวนาร่วมกันคิดว่า"จากโครงสร้างเศรษฐกิจดังกล่าว
สุดท้ายแล้วมหาอำนาจนั้นคืออะไรกันแน่ การเป็นมหาอำนาจแบบสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันนั้นใช่คำตอบรึเปล่า?"
ป้ายกำกับ:
Asia,
China,
India,
จีน,
มหาอำนาจใหม่,
ศตวรรษที่ 21,
อินเดีย,
เอเชีย
Thursday, August 18, 2011
รู้จัก 'สีจิ้นผิง' (Xi Jinping 习近平) ว่าที่ประธานาธิบดีคนต่อไปของจีน
“สีจิ้นผิง” (Xi Jinping 习近平) เป็นรองประธานาธิบดีในปัจจุบันและถูกคาดหวังว่าจะมาแทนประธานาธิบดี “หูจิ่นเทา” วันนี้
เดิมตำแหน่งของสีจิ้นผิง มีแค่รองประธานาธิบดี แต่เมื่อมีคำประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันจันทร์ให้เขาเป็น “รองประธานคณะกรรมการกลางกิจการทหาร” ของพรรคคอมมิวนิสต์ ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ก็เท่ากับยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า เขาคือทายาทตัวจริงของผู้นำคนปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย
กองทัพจีนที่เรียกอย่างเป็นทางการ ว่า “กองกำลังปลดแอกแห่งชาติ” มีกำลังทั้งหมด 2 ล้านคน และหากยังเชื่อตามคำขวัญของเหมาเจ๋อตุงที่ว่า “อำนาจการเมืองมาจากปากกระบอกปืน” ก็คงเห็นชัดว่าใครที่กุมปากกระบอกปืน คือ คนกุมอำนาจการเมืองที่แท้จริง
หูจิ่นเทา จะก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 2012 หรืออีกสองปีข้างหน้า และจะลงจากเก้าอี้ประธานาธิบดีปีต่อมา คือ 2013
ประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งนี้ จึงเท่ากับเป็นการวางตัวผู้นำเบอร์หนึ่งคนใหม่เอาไว้แต่เนิ่นๆ ไม่ต้องมีการวิ่งเต้นหรือต่อสู้กันภายในพรรคให้เกิดความวุ่นวายอย่างบางประเทศ
เกาหลีเหนือนั้นมาอีกสูตรหนึ่ง...คิมจองอิล ตั้งทายาทการเมืองของตนเหมือนกัน แต่ให้ลูกชายคนเล็กอายุแค่ 27 ปี ขึ้นมาเป็นนายพลสี่ดาวควบคุมกองทัพ และมีตำแหน่งในพรรคระดับสูงอย่างกะทันหัน
ทุกสายตาทั่วโลกจึงต้องจ้องไปที่หนุ่มใหญ่อายุ 57 ปีคนนี้ เพราะเขาจะเป็นผู้กุมชะตากรรม ของการเมืองและการทหารของประเทศที่มีประชากรมากที่สุดของโลก และเศรษฐกิจที่กำลังจะมาวางไว้ที่อันดับสองของโลก อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
“สีจิ้นผิง” จะเป็นผู้นำรุ่นที่สี่ของจีนใหม่ต่อจากรุ่นเหมาเจ๋อตุง เติ้งเสี่ยวผิง เจียงเจ๋อหมิน และหูจิ่นเทา
ผู้นำจีนรุ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นวิศวกร แต่รุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาแทนที่ในอีกสองปีข้างหน้า มีพื้นภูมิหลากหลาย เช่น เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักสังคม นักกฎหมาย และนักประวัติศาสตร์
เป็นผู้นำรุ่นใหม่ ที่ไม่เคย “เดินทางไกล” กับเหมา ไม่เกี่ยวโดยตรงกับเหตุการณ์ “จัตุรัสเทียนอันเหมิน” และไม่ติดอยู่กับกับดับแห่งความเป็นคอมมิวนิสต์ในทัศนคติโบราณ
ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ คือ วิธีคิดของ “สีจิ้นผิง” ทางการเมือง...ว่า จะโอนเอียงมาทางปฏิรูปอย่างนายกฯ เวินเจียเป่า หรือจะอนุรักษนิยมอย่างหูจิ่นเทา
อีกทั้งต้องจับตาว่าใครจะมานั่งเก้าอี้อีก 7 ตัว ในทั้งหมด 9 ตัว ของ “กรมการเมือง” ที่เรียกว่า Politburo Standing Committee ที่มีกำหนดจะเกษียณในอีกสองปีข้างหน้าพร้อมๆ กัน
ใครเป็นใครใน Politburo คือ ผู้กำหนดทิศทางสำคัญของประเทศจีนในทุกทาง
นายกฯ เวินเจียเป่า “โยนหินถามทาง” เมื่อเดือนสิงหาคม ด้วยการประกาศว่าประเทศจีนจะต้องก้าวเข้าสู่ยุค “ปฏิรูปการเมือง” หากจะให้การก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถเดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
คำว่า “ปฏิรูปการเมือง” ย่อมมีความอ่อนไหวในบรรยากาศการเมืองอย่างจีน ที่มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างของคนจีนกว่า 1,300 ล้านคน
เวินเจียเป่า ปีนี้อายุ 68 ปี และกำลังจะก้าวลงจากตำแหน่งนายกฯ ในอีกสองปีเช่นกัน
คนที่ถูกวางตัวให้ขึ้นมาแทน คือ รองนายกฯ หลี่เค่อเฉียง ซึ่งจะนำประเทศเคียงคู่กับ “สีจิ้นผิง”
“สีจิ้นผิง” จบการศึกษามาทางด้านสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซิงหวา และอบรมเข้มข้นมาทางทฤษฎีมาร์กซิสม์กับอุดมการณ์สังคมนิยม อีกทั้งยังได้ปริญญาเอกทางด้านกฎหมาย
เขาเคยเป็นผู้ว่าการมณฑลฟูเจี้ยน ก่อนจะไปเจ้อเจียง และเติบใหญ่อย่างโดดเด่นเมื่อได้ตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เซี่ยงไฮ้
สีจิ้นผิงกระโดดขึ้นมาเป็นหนึ่งในเก้าผู้นำสูงสุด ใน Politburo เมื่อสามปีก่อนนี้เอง ก่อนที่จะได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นรองประธานาธิบดี เมื่อปี ค.ศ. 2008
บุคลิกของสีจิ้นผิง ไม่มีสีสันมากนัก ไม่ต่างอะไรกับลูกพี่หูจิ่นเทา ที่มีชื่อเสียงด้าน “น้ำนิ่งไหลลึก”
ส่วนจะลึกแค่ไหน และจะสามารถก้าวขึ้นมาคุมบังเหียนของประเทศจีน ที่กำลังเล่นบทคึกคักหนักหนาในเวทีโลกได้หรือไม่ อีกไม่นานก็จะพิสูจน์ให้ได้เห็นกัน
ประวัติเพิ่มเติม :
นายสีจิ้นผิง ชาวฮั่น เกิดเมื่อเดือนมิถุนายนปี 1953 เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดือนมกราคมปี 1974 เริ่มทำงานเมื่อเดือนมกราคมปี 1969 จบจากสถาบันสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิงหวา วิชาทฤษฎีการเมือง และแนวคิดของลัทธิมาร์ค ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยชิงหัวในช่วงทำงานแล้ว และได้จบปริญญาเอกนิติศาสตร์
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งกรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการสำนักเลขาธิการแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเมืองเซี่ยงไฮ้
1969-1975 ไปฝึกงานที่หน่วยการผลิตเหลียงเจียเหอ คอมมูนอันยี่ อำเภอเอื๋อนชวนมณฑลสั่นซี และเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ที่นั่น
1975-1979 เรียนวิชาสังเคราะห์อย่างมีอินทรีย์พื้นฐานที่คณะอุตสาหกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยชิงหวา
1979-1982 เลขานุการสำนักงานคณะรัฐมนตรีจีน สำนักงานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางของจีน
1982-1983 รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของอำเภอเจิ้งติ้งมณฑลเหอเป่ย
1983-1985 เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของอำเภอเจิ้งติ้งมณฑลเหอเป่ย
1985-1988 กรรมการประจำคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเมืองเซี่ยเหมินมณฑลฝูเจี้ยน รองนายกเทศมนตรีเมืองเซี่ยเหมินมณฑลฝูเจี้ยน
1988-1990 เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเขตหนิงเต๋อมณฑลฝูเจี้ยน
1990-1993 เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคิมมิวนิสต์จีนของเมืองฝูโจวมณฑลฝูเจี้ยน ผู้อำนวยการคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนเมืองฝูโจวมณฑลฝูเจี้ยน
1993-1995 กรรมการประจำคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของมณฑลฝูเจี้ยน เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเมืองฝูโจว ผู้อำนวยการคณะกรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งเมืองฝูโจวมณฑลฝูเจี้ยน
1995-1996 รองเลขาธิกาคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของมณฑลฝูเจี้ยน เลขาธิการของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเมืองฝูโจว ผู้อำนวยการคณะกรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งเมืองฝูโจวมณฑลฝูเจี้ยน
1996-1999 รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนของมณฑลฝูเจี้ยน รักษาการผู้ว่าราชการมณฑลฝูเจี้ยน
2000-2002 รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมณฑลฝูเจี้ยน ผู้ว่าราชการของมณฑลฝูเจี้ยน (1998-2002 ศึกษาวิชาทฤษฎีการเมือง และแนวคิดของลัทธิมาร์คในสถาบันสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิงหวา และจบปริญญาเอกด้านนิติศาสตร์)
2002-2002 รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ของมณฑลเจ้อเจียง รักษาการผู้ว่าราชการ
2002-2003 เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ของมณฑลเจ้อเจียง รักษาการผู้ว่าราชการมณฑลเจ้อเจียง
2003-2007 เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ของมณฑลเจ้อเจียง ผู้อำนวยการคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนมณฑลเจื๋อเจียง
2007-2007 เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์นครเซี่ยงไฮ้(จนถึงตุลาคมปี 2007)
2007- ปัจจุบัน กรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการสำนักเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน กรรมการสำรองของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 15 กรรมการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 16 และ 17 กรรมการกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน กรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 17
เดิมตำแหน่งของสีจิ้นผิง มีแค่รองประธานาธิบดี แต่เมื่อมีคำประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันจันทร์ให้เขาเป็น “รองประธานคณะกรรมการกลางกิจการทหาร” ของพรรคคอมมิวนิสต์ ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ก็เท่ากับยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า เขาคือทายาทตัวจริงของผู้นำคนปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย
กองทัพจีนที่เรียกอย่างเป็นทางการ ว่า “กองกำลังปลดแอกแห่งชาติ” มีกำลังทั้งหมด 2 ล้านคน และหากยังเชื่อตามคำขวัญของเหมาเจ๋อตุงที่ว่า “อำนาจการเมืองมาจากปากกระบอกปืน” ก็คงเห็นชัดว่าใครที่กุมปากกระบอกปืน คือ คนกุมอำนาจการเมืองที่แท้จริง
หูจิ่นเทา จะก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 2012 หรืออีกสองปีข้างหน้า และจะลงจากเก้าอี้ประธานาธิบดีปีต่อมา คือ 2013
ประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งนี้ จึงเท่ากับเป็นการวางตัวผู้นำเบอร์หนึ่งคนใหม่เอาไว้แต่เนิ่นๆ ไม่ต้องมีการวิ่งเต้นหรือต่อสู้กันภายในพรรคให้เกิดความวุ่นวายอย่างบางประเทศ
เกาหลีเหนือนั้นมาอีกสูตรหนึ่ง...คิมจองอิล ตั้งทายาทการเมืองของตนเหมือนกัน แต่ให้ลูกชายคนเล็กอายุแค่ 27 ปี ขึ้นมาเป็นนายพลสี่ดาวควบคุมกองทัพ และมีตำแหน่งในพรรคระดับสูงอย่างกะทันหัน
ทุกสายตาทั่วโลกจึงต้องจ้องไปที่หนุ่มใหญ่อายุ 57 ปีคนนี้ เพราะเขาจะเป็นผู้กุมชะตากรรม ของการเมืองและการทหารของประเทศที่มีประชากรมากที่สุดของโลก และเศรษฐกิจที่กำลังจะมาวางไว้ที่อันดับสองของโลก อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
“สีจิ้นผิง” จะเป็นผู้นำรุ่นที่สี่ของจีนใหม่ต่อจากรุ่นเหมาเจ๋อตุง เติ้งเสี่ยวผิง เจียงเจ๋อหมิน และหูจิ่นเทา
ผู้นำจีนรุ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นวิศวกร แต่รุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาแทนที่ในอีกสองปีข้างหน้า มีพื้นภูมิหลากหลาย เช่น เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักสังคม นักกฎหมาย และนักประวัติศาสตร์
เป็นผู้นำรุ่นใหม่ ที่ไม่เคย “เดินทางไกล” กับเหมา ไม่เกี่ยวโดยตรงกับเหตุการณ์ “จัตุรัสเทียนอันเหมิน” และไม่ติดอยู่กับกับดับแห่งความเป็นคอมมิวนิสต์ในทัศนคติโบราณ
ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ คือ วิธีคิดของ “สีจิ้นผิง” ทางการเมือง...ว่า จะโอนเอียงมาทางปฏิรูปอย่างนายกฯ เวินเจียเป่า หรือจะอนุรักษนิยมอย่างหูจิ่นเทา
อีกทั้งต้องจับตาว่าใครจะมานั่งเก้าอี้อีก 7 ตัว ในทั้งหมด 9 ตัว ของ “กรมการเมือง” ที่เรียกว่า Politburo Standing Committee ที่มีกำหนดจะเกษียณในอีกสองปีข้างหน้าพร้อมๆ กัน
ใครเป็นใครใน Politburo คือ ผู้กำหนดทิศทางสำคัญของประเทศจีนในทุกทาง
นายกฯ เวินเจียเป่า “โยนหินถามทาง” เมื่อเดือนสิงหาคม ด้วยการประกาศว่าประเทศจีนจะต้องก้าวเข้าสู่ยุค “ปฏิรูปการเมือง” หากจะให้การก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถเดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
คำว่า “ปฏิรูปการเมือง” ย่อมมีความอ่อนไหวในบรรยากาศการเมืองอย่างจีน ที่มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างของคนจีนกว่า 1,300 ล้านคน
เวินเจียเป่า ปีนี้อายุ 68 ปี และกำลังจะก้าวลงจากตำแหน่งนายกฯ ในอีกสองปีเช่นกัน
คนที่ถูกวางตัวให้ขึ้นมาแทน คือ รองนายกฯ หลี่เค่อเฉียง ซึ่งจะนำประเทศเคียงคู่กับ “สีจิ้นผิง”
“สีจิ้นผิง” จบการศึกษามาทางด้านสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซิงหวา และอบรมเข้มข้นมาทางทฤษฎีมาร์กซิสม์กับอุดมการณ์สังคมนิยม อีกทั้งยังได้ปริญญาเอกทางด้านกฎหมาย
เขาเคยเป็นผู้ว่าการมณฑลฟูเจี้ยน ก่อนจะไปเจ้อเจียง และเติบใหญ่อย่างโดดเด่นเมื่อได้ตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เซี่ยงไฮ้
สีจิ้นผิงกระโดดขึ้นมาเป็นหนึ่งในเก้าผู้นำสูงสุด ใน Politburo เมื่อสามปีก่อนนี้เอง ก่อนที่จะได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นรองประธานาธิบดี เมื่อปี ค.ศ. 2008
บุคลิกของสีจิ้นผิง ไม่มีสีสันมากนัก ไม่ต่างอะไรกับลูกพี่หูจิ่นเทา ที่มีชื่อเสียงด้าน “น้ำนิ่งไหลลึก”
ส่วนจะลึกแค่ไหน และจะสามารถก้าวขึ้นมาคุมบังเหียนของประเทศจีน ที่กำลังเล่นบทคึกคักหนักหนาในเวทีโลกได้หรือไม่ อีกไม่นานก็จะพิสูจน์ให้ได้เห็นกัน
ประวัติเพิ่มเติม :
นายสีจิ้นผิง ชาวฮั่น เกิดเมื่อเดือนมิถุนายนปี 1953 เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดือนมกราคมปี 1974 เริ่มทำงานเมื่อเดือนมกราคมปี 1969 จบจากสถาบันสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิงหวา วิชาทฤษฎีการเมือง และแนวคิดของลัทธิมาร์ค ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยชิงหัวในช่วงทำงานแล้ว และได้จบปริญญาเอกนิติศาสตร์
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งกรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการสำนักเลขาธิการแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเมืองเซี่ยงไฮ้
1969-1975 ไปฝึกงานที่หน่วยการผลิตเหลียงเจียเหอ คอมมูนอันยี่ อำเภอเอื๋อนชวนมณฑลสั่นซี และเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ที่นั่น
1975-1979 เรียนวิชาสังเคราะห์อย่างมีอินทรีย์พื้นฐานที่คณะอุตสาหกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยชิงหวา
1979-1982 เลขานุการสำนักงานคณะรัฐมนตรีจีน สำนักงานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางของจีน
1982-1983 รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของอำเภอเจิ้งติ้งมณฑลเหอเป่ย
1983-1985 เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของอำเภอเจิ้งติ้งมณฑลเหอเป่ย
1985-1988 กรรมการประจำคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเมืองเซี่ยเหมินมณฑลฝูเจี้ยน รองนายกเทศมนตรีเมืองเซี่ยเหมินมณฑลฝูเจี้ยน
1988-1990 เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเขตหนิงเต๋อมณฑลฝูเจี้ยน
1990-1993 เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคิมมิวนิสต์จีนของเมืองฝูโจวมณฑลฝูเจี้ยน ผู้อำนวยการคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนเมืองฝูโจวมณฑลฝูเจี้ยน
1993-1995 กรรมการประจำคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของมณฑลฝูเจี้ยน เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเมืองฝูโจว ผู้อำนวยการคณะกรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งเมืองฝูโจวมณฑลฝูเจี้ยน
1995-1996 รองเลขาธิกาคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของมณฑลฝูเจี้ยน เลขาธิการของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเมืองฝูโจว ผู้อำนวยการคณะกรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งเมืองฝูโจวมณฑลฝูเจี้ยน
1996-1999 รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนของมณฑลฝูเจี้ยน รักษาการผู้ว่าราชการมณฑลฝูเจี้ยน
2000-2002 รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมณฑลฝูเจี้ยน ผู้ว่าราชการของมณฑลฝูเจี้ยน (1998-2002 ศึกษาวิชาทฤษฎีการเมือง และแนวคิดของลัทธิมาร์คในสถาบันสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิงหวา และจบปริญญาเอกด้านนิติศาสตร์)
2002-2002 รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ของมณฑลเจ้อเจียง รักษาการผู้ว่าราชการ
2002-2003 เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ของมณฑลเจ้อเจียง รักษาการผู้ว่าราชการมณฑลเจ้อเจียง
2003-2007 เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ของมณฑลเจ้อเจียง ผู้อำนวยการคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนมณฑลเจื๋อเจียง
2007-2007 เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์นครเซี่ยงไฮ้(จนถึงตุลาคมปี 2007)
2007- ปัจจุบัน กรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการสำนักเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน กรรมการสำรองของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 15 กรรมการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 16 และ 17 กรรมการกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน กรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 17
ป้ายกำกับ:
China,
Politburo,
Xi Jinping,
กองทัพจีน,
จีน,
พรรคคอมมิวนิสต์จีน,
สีจิ้นผิง,
习近平
Subscribe to:
Posts (Atom)